1. โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำยากโดยใช้ชุดพัฒนาทักษะ การเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของคนในชาติ จึงมีความสำคัญต่อการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ภาษาไทยในการศึกษาหาความรู้วิชาการต่างๆ ซึ่งหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ได้กำหนดให้ใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและแสวงหาความรู้
ทักษะภาษาไทยทั้ง 4 ด้าน ซึ่งได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทักษะที่มีความสลับซับซ้อนและยากที่สุดสำหรับผู้เรียน คือ ทักษะการเขียน เพราะในการสื่อสารด้วยการเขียนนั้น ผู้เรียนต้องมีความรอบรู้ มีความคิด และสะสมประสบการณ์ต่างๆ ไว้มาก และกลั่นกรองความรู้ที่ได้มาแสดงออกเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสื่อความหมายให้ประจักษ์ (กรมวิชาการ, 2542)
ในปีการศึกษา 2552 ข้าพเจ้ามีหน้าที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนวิชาซ่อมเสริม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนการสอนนักเรียนต้องมีการจดบันทึก ตอบคำถาม ตามกิจกรรมภาระงานที่ครูได้กำหนด จากผลการจัดการเรียนรู้ ในแต่ละชั่วโมง ข้าพเจ้าได้ตรวจสมุดจดบันทึกหรือภาระงาน พบว่า นักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้องหลายคำ และเป็นคำที่พบบ่อยในหน่วยการเรียนรู้ เมื่อให้นักเรียนอ่านคำเหล่านั้น ส่วนใหญ่นักเรียนอ่านได้ถูกต้อง แต่มีปัญหาคือเขียนสะกดคำได้ไม่ถูกต้อง
ข้าพเจ้าตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้หาวิธีการในการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำยากในหน่วยการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อให้ผู้เรียนในกลุ่มดังกล่าวมีพัฒนาการด้านทักษะการเขียนสะกดคำที่ถูกต้อง
3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพครูผู้สอนควรมีบทบาทในการจัดกิจกรรม โดยศึกษาจิตวิทยาการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถเลือกกิจกรรมและสื่อที่เหมาะสม มีความรู้ความชำนาญในการใช้สื่อ อุปกรณ์เพื่อประกอบกับการจัดกิจกรรมที่สามารถแก้ปัญหาได้ (กรมวิชาการ 2539 : 30) โดยครูจะต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องสื่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเอื้อประโยชน์ต่อประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อพัฒนาความสามารถและทักษะของผู้เรียน (ชุมพล ศรีทองกุล 2543 : 31)
(ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2524) กล่าวถึงหลักการสร้างแบบฝึกไว้ ดังนี้
1. สร้างให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา พัฒนาการของเด็กและลำดับขั้นการเรียนรู้
2. มีจุดประสงค์ว่าจะฝึกในด้านใด แล้วจัดเนื้อหาให้ตรงกับจุดประสงค์ที่วางไว้
3. จัดทำแบบฝึกให้เป็นไปตามลำดับความยากง่าย เพื่อให้นักเรียนมีกำลังใจ
4. ใช้รูปภาพจูงใจผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนผ่อนคลาย
5. คำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแบ่งผู้เรียนตามความสามารถแล้วจัดทำแบบฝึกเพื่อส่งเสริมผู้เรียนแต่ละกลุ่มหรือ รายบุคคลได้ยิ่งดี
6. ในแบบฝึกต้องมีคำชี้แจงง่ายๆ สั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ
7. แบบฝึกต้องมีความถูกต้อง ทั้งในแง่เนื้อหาสาระและอักขระที่ครูต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน อย่าให้มีข้อผิดพลาด
8. แบบฝึกควรแบ่งเป็นชุดย่อยๆ แต่ละชุดใช้เวลาไม่นานนัก ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากกว่าแบบฝึกที่ใช้เวลานาน นอกจากนั้นยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการอยากรู้อยากเรียน
9. ควรทำแบบฝึกหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและส่งเสริมให้เกิดความคิด การใช้อุปกรณ์หรือเกมประกอบแบบฝึก เป็นแนวทางกระตุ้นผู้เรียนที่ดีทางหนึ่ง
10. เมื่อพบข้อผิดพลาดของผู้เรียน หลังจากทำแบบฝึกแล้ว ควรให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อแก้ไขผู้เรียนเป็นรายกลุ่ม หรือรายบุคคล
การสร้างแบบฝึกควรคำนึงถึงหลักการสำคัญ ดังต่อไปนี้คือ
1. ใช้หลักจิตวิทยา
2. ภาษาง่าย
3. ให้ความหมายต่อชีวิต
4. คิดได้เร็วและสนุก
5. ปลุกเร้าความสนใจ
6. เหมาะสมกับวัยและความสามารถ
นายชีวิตรี อยู่สีมารักษ์ (2543) ได้ทำการวิจัยโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านบทร้อยกรองคำพื้นฐานภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทานสัมฤทธิ์ จังหวัดนนทบุรี พบว่าชุดฝึกทักษะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งคิดได้เป็นร้อยละ 80 เนื่องจากแบบฝึกแยกแยะเนื้อหาและความรู้ออกเป็นขั้นย่อย ๆ ง่ายแก่การเข้าใจเรียงลำดับต่อเนื่องกัน ทำให้นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
นางศิริรัตน์ ศุภนราพรรค์ ( 2544) ได้ทำการวิจัยโดยใช้ชุดฝึกในการแก้ปัญหาการเขียนคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ข. โรงเรียนชุมชนแหลมงอบ จังหวัดตราด พบว่าชุดฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพปรากฏผลการประเมินผู้เรียนก่อนเรียนได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 55.17 และหลังการใช้ชุดฝึกผู้เรียนได้คะแนนร้อยละ 82.60 (http://www.moe.go.th/wijai/52.doc)
4. วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 15 คน ที่มีปัญหาด้านทักษะการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง
2. เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการเขียนที่ดีขึ้น เพื่อใช้เป็นทักษะขั้นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงต่อไป
5. สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนที่มีปัญหาด้านการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง หลังได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกการเขียนคำยาก แล้วมีพัฒนาด้านการเขียนได้ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น
6. ขอบเขตของการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม(พิบูลสงคราม) สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling)
2. ตัวแปร
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การใช้ชุดแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำยาก
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2
3. ขอบข่ายเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้เวลาหลังเลิกเรียนวันที่ 11 – 22 เดือนกุมภาพันธ์ 2552 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
7. นิยามศัพท์เฉพาะ
1. คำยาก หมายถึง คำใหม่ในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากหนังสือเรียนของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิชและกระทรวงศึกษาธิการ
2. นักเรียนที่เขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง หมายถึง นักเรียนที่มีปัญหาด้านการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง ที่พบในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากหนังสือเรียนของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิชและกระทรวงศึกษาธิการ
3. ชุดแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ หมายถึง เป็นชุดแบบฝึกที่ผู้สอนสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง
4. แบบทดสอบการเขียนก่อนเรียนหลังเรียน เป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยเป็นข้อสอบแบบเขียนคำศัพท์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นคำที่นักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง จำนวน 32 คำ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 15 คน มีทักษะการเขียนสะกดคำยากได้ถูกต้อง
2. นักเรียนมีทักษะการเขียนที่ดีขึ้น และสามารถใช้เป็นทักษะขั้นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงต่อไป
9. วิธีดำเนินการวิจัย
9.1 ประเภทการวิจัย
เป็นการวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย ประเภทการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) หน่วยย่อยคือ การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research)
9.2 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 15 คน ที่มีปัญหาด้านทักษะการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง
9.3 เครื่องมือวิจัยและการรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือวิจัย
1. แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ จำนวน 4 ชุด
2. แบบทดสอบการเขียนคำ ก่อนเรียน-หลังเรียน
การรวบรวมข้อมูล
1. สำรวจนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเขียนสะกดคำที่ไม่ถูกต้อง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. สำรวจสภาพการอ่านของนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้องและคัดเลือกนักเรียนที่มีทักษะด้านการอ่านออกในระดับดีแต่เขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง
3. ผู้วิจัยให้นักเรียนที่มีปัญหาด้านการเขียนสะกดคำ ทดสอบการเขียนสะกดคำก่อนเรียน โดยใช้ข้อสอบการเขียนสะกดคำ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
4. ผู้วิจัยใช้ชุดแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ จำนวน 4 ชุด กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
5. ผู้วิจัยให้นักเรียนที่มีปัญหาด้านการเขียนสะกดคำ ทดสอบการเขียนสะกดคำหลังเรียน โดยใช้ข้อสอบการเขียนสะกดคำ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
จากผลการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้
- ค่าร้อยละ
คำนวณได้จากสูตร
เมื่อกำหนดให้ N คือจำนวนนักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่า 70%
คือ จำนวนนักเรียนทั้งหมด
- ค่าเฉลี่ย
คำนวณได้จากสูตร X =
เมื่อกำหนดให้ X คือ ค่าเฉลี่ย
คือผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N คือจำนวนนักเรียนทั้งหมด
- เปรียบเทียบเกณฑ์ระดับคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่
3.1 เกณฑ์ระดับคุณภาพ คะแนนสอบก่อนเรียน –หลังเรียน
ดีมาก หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง 26 คำ ขึ้นไป
ดี หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง 22 – 25 คำ
พอใช้ หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง 19 – 21 คำ
ผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง 16 –18 คำ
ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง น้อยกว่า 16 คำ
3.2 เกณฑ์คุณภาพคะแนนจากชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำทั้ง 4 ชุด
ดีมาก หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง 32 คำ ขึ้นไป
ดี หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง 28 – 31 คำ
พอใช้ หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง 24 – 27 คำ
ผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง 20 –23 คำ
ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง ผู้เรียนเขียนถูกต้อง น้อยกว่า 20 คำ
ผลการวิจัย
เมื่อผู้วิจัยได้พัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำยาก ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 15 คน ได้ผลดังตาราง
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ ก่อนเรียน (Pretest) และหลังเรียน (Posttest) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2
คนที่ | ชื่อ – สกุล | ก่อนเรียน
32 คะแนน |
ระดับคุณภาพ | หลังเรียน
32 คะแนน |
ระดับคุณภาพ | ความต่าง | |
1 | เด็กชายสงคราม | จงกลกลาง | 21 | พอใช้ | 28 | ดีมาก | +7 |
2 | เด็กชายพุฒิพงศ์ | ธนะนาม | 18 | ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 27 | ดีมาก | +11 |
3 | เด็กชายอรรถพล | นนท์ยะโส | 14 | ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 24 | ดี | +10 |
4 | เด็กชายอนิวัติ | เดียงขุนทด | 23 | ดี | 24 | ดี | +1 |
5 | เด็กชายทัตภูมิ | พลอยมาลี | 17 | ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 27 | ดีมาก | +10 |
6 | เด็กชายพงษ์ศักดิ์ | เย็นสถิตย์ | 14 | ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 18 | ผ่านเกณฑ์การประเมิน | +4 |
7 | เด็กชานำโชค | พอเณร | 13 | ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 26 | ดีมาก | +13 |
8 | เด็กชายธีรนัย | ตาติจันทร์ | 11 | ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 22 | ดี | +11 |
9 | เด็กชายไพโรจน์ | ตุ้มนิลกาล | 17 | ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 27 | ดีมาก | +10 |
10 | เด็กชายธนทัต | ลีวงศา | 20 | พอใช้ | 31 | ดีมาก | +11 |
11 | เด็กหญิงพัชรากร | ทองนู | 27 | ดีมาก | 31 | ดีมาก | +4 |
12 | เด็กหญิงศศิรดา | ศุภวงค์ชัย | 25 | ดี | 31 | ดีมาก | +6 |
13 | เด็กหญิงกัญนิดา | เรืองฤทธิ์ | 26 | ดีมาก | 30 | ดีมาก | +4 |
14 | เด็กหญิงคริสตร์มาส | คำพรหม | 22 | ดี | 29 | ดีมาก | +7 |
15 | เด็กหญิงญาณิศา | พาพลงาม | 18 | ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 30 | ดีมาก | +12 |
16 | เด็กหญิงพรรณวดี | เฉิดฉาย | 22 | ดี | 28 | ดีมาก | +6 |
17 | เด็กหญิงเยาวลักษณ์ | สุขประเสริฐ | 14 | ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 24 | ดี | +10 |
18 | เด็กหญิงนริศรา | วงค์ธรรม | 21 | พอใช้ | 29 | ดีมาก | +8 |
19 | เด็กหญิงธิดาพร | สุวรรณเดช | 17 | ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 26 | ดีมาก | +9 |
20 | เด็กหญิงเจมจิรา | ภาพร | 23 | ดี | 32 | ดีมาก | +9 |
21 | เด็กหญิงภคพร | เปลี่ยนสกุล | 12 | ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 20 | พอใช้ | +8 |
22 | เด็กหญิงดวงพรรัตน์ | เดชศิริ | 8 | ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน | 18 | ผ่านเกณฑ์การประเมิน | +10 |
คะแนนเฉลี่ย ( X ) | 18.32 | พอใช้ | 26.45 | ดีมาก |
จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ ก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ มีคะแนนสูงสุด 27 คะแนน คะแนนต่ำสุด 8 คะแนน คะแนนเฉลี่ย 18.32 ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะการเขียนสะกดคำในระดับ พอใช้ และผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ หลังเรียน (Posttest) โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ มีคะแนนสูงสุด 32คะแนน คะแนนต่ำสุด 18 คะแนน คะแนนเฉลี่ย 26.45 ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะการเขียนสะกดคำในระดับดีมาก
ตารางที่ 2 แสดงระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ ก่อนเรียน (Pretest) และหลังเรียน (Posttest) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2
ระดับคุณภาพ | ก่อนเรียน(Pretest) | หลังเรียน (posttest) | ||
จำนวน(คน) | ร้อยละ | จำนวน(คน) | ร้อยละ | |
ดีมาก | 2 | 9.09 | 15 | 68.18 |
ดี | 5 | 22.73 | 4 | 18.18 |
พอใช้ | 3 | 13.64 | 1 | 4.55 |
ผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นต่ำ | 5 | 22.73 | 2 | 9.09 |
ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นต่ำ | 7 | 31.82 | – | – |
จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ ก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 31.82 รองลงมา ระดับผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นต่ำ และ ระดับดี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 22.73
นักเรียนมีระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ หลังเรียน (Posttest) โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ระดับคุณภาพดีมาก จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 68.18 รองลงมา ระดับดี จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18
ตารางที่ 3 แสดงผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ จากชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ จำนวน 4 ชุด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2
คนที่ | ชุดที่1
10 คะแนน |
ชุดที่2
10 คะแนน |
ชุดที่ 3
10 คะแนน |
ชุดที่ 4
10 คะแนน |
รวม
40 คะแนน |
ระดับคุณภาพ |
1 | 9 | 10 | 7 | 9 | 35 | ดีมาก |
2 | 9 | 10 | 9 | 7 | 35 | ดีมาก |
3 | 9 | 7 | 5 | 7 | 28 | ดี |
4 | 9 | 7 | 7 | 5 | 28 | ดี |
5 | 8 | 9 | 5 | 8 | 30 | ดี |
6 | 9 | 7 | 7 | 5 | 28 | ดี |
7 | 9 | 9 | 9 | 6 | 33 | ดีมาก |
8 | 8 | 9 | 8 | 6 | 31 | ดี |
9 | 10 | 8 | 8 | 6 | 32 | ดีมาก |
10 | 10 | 10 | 9 | 9 | 38 | ดีมาก |
11 | 10 | 9 | 10 | 9 | 38 | ดีมาก |
12 | 10 | 9 | 10 | 9 | 38 | ดีมาก |
13 | 10 | 10 | 8 | 7 | 35 | ดีมาก |
14 | 10 | 9 | 10 | 10 | 39 | ดีมาก |
15 | 10 | 9 | 8 | 5 | 32 | ดีมาก |
16 | 9 | 10 | 8 | 7 | 34 | ดีมาก |
17 | 9 | 9 | 7 | 8 | 33 | ดีมาก |
18 | 10 | 10 | 9 | 7 | 36 | ดีมาก |
19 | 10 | 10 | 8 | 8 | 36 | ดีมาก |
20 | 10 | 10 | 10 | 7 | 37 | ดีมาก |
21 | 9 | 9 | 6 | 4 | 28 | ดี |
22 | 8 | 6 | 6 | 6 | 26 | พอใช้ |
คะแนนเฉลี่ย | 9.32 | 8.91 | 7.91 | 7.05 | 33.18 | ดีมาก |
จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ จากชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ จำนวน 4 ชุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 9.32 8.91 7.91 และ 7.05 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมทั้ง 4 ชุด เท่ากับ 33.18 ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพของการเขียนสะกดคำ อยู่ในระดับดีมาก
อภิปรายผล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 หลังการสอนโดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนสะกดคำสูงกว่า ก่อนเรียน โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ อาจเป็นเพราะสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 22 คน ที่ผู้วิจัยนำมาทดลอง มีทักษะการอ่านในระดับดี เพราะการวิจัยในครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ต้องเป็นนักเรียนที่อ่านหนังสือได้แต่มีปัญหาด้านการเขียนสะกดคำที่ไม่ถูกต้อง และผู้ผู้วิจัยต้องการนำนักเรียนกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมาพัฒนาด้านทักษะการเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงต่อไป
2. ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ทั้ง 4 ชุด เป็นสื่อประกอบในการฝึกและพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำให้แก่นักเรียนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในแต่ละชุดแบบฝึก มีลักษณะ ของกิจกรรมที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ในการฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำได้ดียิ่งขึ้น
3. แบบทดสอบการเขียนสะกดคำ ก่อนเรียนและหลังเรียน ผู้วิจัยในนำเอาคำที่ใช้ในการจัดกิจกรรมตามชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ทั้ง 4 ชุด มาใช้วัดผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ ของนักเรียน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนสะกดคำหลังเรียน โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ สูงกว่า ก่อนเรียน เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่จดจำคำศัพท์ได้
จากที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่า การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำยากจากการจัด การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะ การเขียนสะกดคำ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการเขียนสะกดคำ ได้ดีขึ้น และเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องทักษะการเขียนที่เกิดขึ้นขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ ทำให้ผู้เรียนมีทักษะขั้นพื้นฐานทางด้านการเขียนที่ถูกต้อง มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนในวิชาต่างๆ
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการตรวจสอบความคงทนเรื่องทักษะการเขียนสะกดคำกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นระยะ ๆ
2. ควรมีการจัดทำชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อการพัฒนาทักษะของนักเรียน
บรรณานุกรม
1. กรมวิชาการ กระทรวง ศึกษาธิการ.(2542). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
กรุงเทพมหานคร . โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
2. ก่อ สวัสดิพาณิชย์. (2524) แนวการสอนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร . โรงพิมพ์คุรุสภา
3. การวิจัยการเขียนคำยาก (4 มีนาคม 2551)
Available URL http://www.moe.go.th/wijai/52.doc
4. ชุมพล ศรีทองกุล . (2544) ครูกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ วารสารข้าราชการครู 21
( เมษายน 2544) :31
5. สมศักดิ์ สินธุรเวญ์และคณะ.(2548)หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุดปฏิรูปการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
6. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.(2548) หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานภาษไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.(2549) หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
ภาคผนวก
– แบบทดสอบการเขียนสะกดคำ ก่อนเรียน/หลังเรียน
– ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ
แบบทดสอบการเขียน ก่อนและหลังเรียน
คำชี้แจง นักเรียนเขียนคำให้ถูกต้อง โดยให้ครูอ่านให้ฟังจากคำที่กำหนดให้ต่อไปนี้
1. หนอน
10. ผีเสื้อ |
1. ผักกระเฉด
10. กิจกรรม |
10. หลบภัย 11. อนุรักษ์ 12. ทรัพยากร |
แบบทดสอบการเขียนสะกดคำ ก่อนเรียน/หลังเรียน
เรื่อง คำใหม่ในบทเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ชีวิตสัมพันธ์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
ชื่อ…………………………………………………..สกุล………………………………เลขที่………. ชั้น ป. 3/…..
1…………………………………………. 2…………………………………………. 3…………………………………………. 4…………………………………………. 5…………………………………………. 6…………………………………………. 7…………………………………………. 8…………………………………………. 9…………………………………………. 10……………………………………….. |
11………………………………………….. 12………………………………………….. 13………………………………………….. 14………………………………………….. 15………………………………………….. 16………………………………………….. 17………………………………………….. 18………………………………………….. 19………………………………………….. 20…………………………………………… 21………………………………………….. |
22………………………………………. 23………………………………………. 24………………………………………. 25………………………………………. 26………………………………………. 27………………………………………. 28………………………………………. 29………………………………………. 30………………………………………. 31………………………………………. 32………………………………… |
คะแนนเต็ม 32 คะแนน
คะแนนที่ได้………………คะแนน
ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ที่ 1
คำสั่ง: ให้นักเรียนนำ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ มาเรียงเป็นคำที่ถูกต้อง
คำที่กำหนดให้เป็นชื่อสัตว์
ตัวอย่าง ว ย า ค = ควาย
1. น ห น อ = ……………………….………………
- เ น อี ง้ ย ก = ……………………….………………
- ป ร า น์ ก ล ตู า = ……………………….………………
- ท้ อ ล ะ ด เ ก ไ ม = ……………………….………………
- อ ก ม้ ห เ ง้ = ……………………….………………
- ย น ร ร ะ กี ก เ น = ……………………….………………
- ผ ว า ง ก า = ……………………….………………
- อ ป ย เ ห ลื ก = ……………………….………………
- โ ส ไ น์ เ ร ด า = ……………………….………………
10. อี ผื เ ส้ = ……………………….………………
คะแนนที่ได้………………………
ชื่อ………………………………………………สกุล………………………………………..ชั้น ป……/………
เฉลยการเขียนสะกดคำชุดที่ 1
- หนอน
- นกเอี้ยง
- ปลาการ์ตูน
- ดอกไม้ทะเล
- เก้งหม้อ
- นกกระเรียน
- กวางผา
- เปลือกหอย
- ไดโนเสาร์
- ผีเสื้อ
ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ที่ 2
คำสั่ง: ให้นักเรียนเติมอักษรที่หายไปให้ถูกต้อง ตามความหมายที่กำหนดให้
ตัวอย่าง รถบริการรับส่งตามสถานี ร …… …… ด …… ส …… …….
(รถโดยสาร)
1.อยากดื่ม ก ……. ……. ห ……. ย
2.ขึ้นตามป่าเลน ชายทะเล ทำฟืน เผาถ่าน ต้ ……. ……. ก …….. ……. ……. ง
3.ทำโดยมานะบากบั่น ……. ย …….. ย …….. ม
4.พืชที่มีใบเป็นหนาม มีมากในทะเลทราย ก ….. ….. บ ……. ……. ……. …… ช ……
5.พืชที่นำมาผลิตน้ำมันไบโอดีเซลได้ ป …….. ………. ……….
6.พืชที่มีดอกขนาดใหญ่ กลิ่นเหม็น อยู่ในป่าดงดิบ ก …… …… โ …… …… …… ……. …….
7. ชัดเจน แจ่มแจ้ง ป ……. อะ จั ……. …….
8. เป็นปลาทะเล มีชื่อที่เด็กๆชอบดูทางทีวี ก …….. …….. …….. ………
9.เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ สูญพันธุ์ไปแล้ว ไ …… …… น …….. …….. …….. ……..
10. เป็นสัตว์ที่มีคอยาวที่สุด ยี ……… ………. ……….
คะแนนที่ได้………………………
ชื่อ………………………………………………สกุล………………………………………..ชั้น ป……/………
เฉลยการเขียนสะกดคำชุดที่ 2
- อยากดื่ม
- โกงกาง
- พยายาม
- กระบองเพชร
- ปาล์ม
- กระโถนฤาษี
- ประจักษ์
- ปลาการ์ตูน
- ไดโนเสาร์
- ยีราฟ
ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ที่ 3
คำสั่ง: ให้นักเรียนเขียนคำ จากคำอ่านต่อไปนี้ ให้ถูกต้อง
ตัวอย่าง ประ–สบ–กาน = ประสบการณ์
1. ทำ – มะ – ชาด = ……………………….………………
- อะ – มะ – ตะ = ……………………….………………
- กิด – จะ – กำ = ……………………….………………
- วิด – ทะ – ยา – สาด = ……………………….………………
- ปัด – จุ – บัน = ……………………….………………
- อุป – ปะ – กอน = ……………………….………………
- ผะ – หลิด = ……………………….………………
- อะ– หร่อย = ……………………….………………
- ซาก – ดึก – ดำ – บัน = ……………………….………………
10. สะ – โหร่ง = ……………………….………………
คะแนนที่ได้………………………
ชื่อ………………………………………………สกุล………………………………………..ชั้น ป……/………
เฉลยการเขียนสะกดคำชุดที่ 3
- ธรรมชาติ
- อมตะ
- กิจกรรม
- วิทยาศาสตร์
- ปัจจุบัน
- อุปกรณ์
- ผลิต
- อร่อย
- ซากดึกดำบรรพ์
- โสร่ง
ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ที่ 4
คำสั่ง: ให้นักเรียนเขียนคำอ่านที่กำหนดให้ ลงในช่องว่างให้ได้ใจความที่ถูกต้อง
ซาก – ดึก – ดำ – บัน
อา – กาด
หลบ – ไพ
สะ – หลาก
สืบ – พัน
กะ – สัด
นัก – วิด – ทะ – ยา – สาด
ราด – ชะ – สี
ข้า – พะ – เจ้า
ซับ – พะ – ยา – กอน
- สิ่งมีชีวิต มีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วโดยการ…………………………………….
- นิทานอิสป เรื่อง …………………..กับหนู มีคติสอนใจที่มีประโยชน์
- ………………………..เป็นลูกเสือสำรอง
- สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต คือ น้ำ อาหาร และ……………..
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น……………………..รัชกาลที่ 9
- ในอนาคตผมอยากเป็น……………………………เพราะจะได้นำความรู้มาพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า
- เราทุกคนต้องช่วยกัน……………………….ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ ไม่ให้ถูกทำลายโดยการกระทำของมนุษย์
- ป่าไม้ เป็น………………………………..ทางธรรมชาติ ที่มีประโยชน์มากมาย
- นักวิทยาศาสตร์ขุดพบ………………………………………ของไดโนเสาร์ที่ จังหวัดขอนแก่น
- นักเรียนจับ…………………………เลือกกลุ่มเพื่อทำโครงงาน
คะแนนที่ได้………………………
ชื่อ………………………………………………สกุล………………………………………..ชั้น ป……/………
เฉลยการเขียนสะกดคำชุดที่ 4
- สืบพันธุ์
- ราชสีห์
- ข้าพเจ้า
- อากาศ
- หลบภัย
- นักวิทยาศาสตร์
- กษัตริย์
- ทรัพยากร
- ซากดึกดำบรรพ์
- สลาก